คำยืมภาษาเขมรปรากฏในสังคมวัฒธนรรมไทยมาเเต่โบราณ ดังตัวอย่างจากคำยืมภาษาเขมรในศิลาจารึกหลักต่างๆ เช่น คำว่า ตระพัง (เเอ่งน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ) พนม(ภูเขา)
สาเหตุการยืมภาษาเขมรมาใช้
เกิดจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ลัทธิการปกครองเเละระบบราชการ วรรณกรรม ศิลปกรรม ชีวิตความเป็นอยู่
ข้อสังเกตุคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย
1. มักใช้พยัญชนะต้นควบกล้ำเเละอักษรนำ
เช่น กริ้ว กระยา ตรวจ เกรียม
2. เสียงพยัญชนะท้ายเเม่ กด มักใช้รูปพยัญชนะ จ ช เเละ ส เเละเเม่ กน มักใช้รูปพยัญชนะ ญ ร เเละ ล เป็นรูปตัวสะกด
เช่น ฉกาจ เผด็จ ดำรัส บังอร
3. คำที่พยัญชนะต้นของพยางค์เเรกของคำประสมสระอำ หรือมีเสียงสระอะกับตัวสะกด
เช่น ชำนาญ กำนัล ตำนาน บังเกิด บังเอิญ
4. มักเป็นคำที่สามารถเเผลงคำได้
เช่น ตรวจ➩ตำรวจ รำ➩ระบำ กราบ➩กำราบ
วงศัพท์คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย
1. ราชาศัพท์เเละคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง
เช่น ฉลอง(ในคำว่าฉลองพระองค์ฉลองพระบาท ฉลองพระหัตถ์) ทรง เขนย ตำหนัก ธำมรงค์ เสด็จ
2. ศัพท์ในวรรณคดี
เช่น ฉนำ(ปี) ดำรู(สวยงาม) เผลียง(ฝน)
3. ชื่อเฉพาะของสถานที่
เช่น ฉะเชิงเทรา บางฉนัง (ปัจจุบันเเผลงเป็น บางเชือกหนัง)
4. ศัพท์ทางศิลปกรรมเเขนงต่างๆ
เช่น รำ ระบำ เสานางจรัล บันเเถลง
5. ชื่อพืชเเละสัตว์
เช่น สวาย ขนุน กัญชา ตะกวด
6. ศัพท์ทั่วไป
เช่น จมูก ประมง ผสม สำรวจ ระบือ
7. คำเฉพาะสมัย
เช่น คำว่า"เซาะกราว" จากภาษาเขมรถิ่นบุรีรัมย์